วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558


Smart Home

           บ้านอัจฉริยะ (Smart Home) เป็นเทคโนโลยีในฝันที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงและตรวจสอบบ้านจากระยะไกล โดยควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ สามารถแจ้งเตือนให้ผู้ใช้ทราบโดยการส่ง SMS หรือใช้งานผ่าน Smart Home Applications ที่ติดตั้งบนคอมพิวเตอร์พกพา, สมาร์ทโฟน เป็นต้น


         ความหมายอย่างแท้จริงของ Smart Home ก็คือ การทำให้เครื่องใช้ภายในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ  เช่น ตู้เย็น โทรทัศน์ เตาไฟฟ้า หลอดไฟ ระบบรักษาความปลอดภัย แม้กระทั่งประตูหรือหน้าต่าง มาหล่อหลอมเชื่อมต่อกันให้เป็นระบบเดียว เป็นระบบการสื่อสารภายในบ้าน ทำให้เราสามารถเข้าถึงและสามารถควบคุมอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อผ่านทางอุปกรณ์สื่อสาร หรือคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าเราจะอยู่ในบ้านหรืออยู่ที่ไหน ๆ ก็ตาม ทำให้ชีวิตของเราสะดวกสบาย สามารถใช้ชีวิตให้ง่ายขึ้น เหมาะกับยุคที่ต้องเร่งรีบตลอดเวลา 


ส่วนประกอบพื้นฐานของ Smart Home มี 3 ส่วนหลัก คือ
ส่วนประกอบพื้นฐานของ Smart Home ทุกระบบนั้นจำเป็นต้องประกอบด้วยองค์ประกอบพื้นฐาน 3 อย่างด้วยกัน คือ 
1.อุปกรณ์อัจฉริยะ (Smart Device) ต่าง ๆ  เช่น โทรทัศน์ ตู้เย็น รวมถึงเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ  เครื่องดูดฝุ่น ประตู หน้าต่าง ระบบรักษาความปลอดภัย โดยอุปกรณ์พวกนี้จะคอยตอบสนองต่อคำสั่งของเรานั่นเอง ถัดจากอุปกรณ์อัจฉริยะแล้ว สิ่งต่อมาก็คือ 
2.ระบบควบคุมอัจฉริยะ (Intelligent Control System) ระบบที่ว่านี้ก็จะเปรียบได้กับมันสมองของบ้านนั่นเอง จะเป็นตัวที่คอยควบคุมและจัดการอุปกรณ์อัจฉริยะให้ทำงานตามความต้องการของเรา เป็นตัวเชื่อมอุปกรณ์อัจฉริยะทั้งหมดในบ้านเข้าด้วยกันแม้ว่าแต่ละอุปกรณ์จะผลิตโดยผู้ผลิตที่ต่างกัน ระบบอัจฉริยะก็จะต้องมีความสามารถทำให้อุปกรณ์สามารถทำงานร่วมกันอย่างราบรื่น นอกจากจะเชื่อมต่ออุปกรณ์อัจฉริยะในบ้านแล้ว ระบบอัจฉริยะยังต้องมีความสามารถเชื่อมต่อกับโลกภายนอก เพื่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้ รวมถึงสื่อสารกับผู้บริการต่าง ๆ ด้วย และสุดท้ายองค์ประกอบที่สำคัญ และเป็นพื้นฐานที่เชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์อัจฉริยะ และระบบอัจฉริยะเข้าด้วยกันคือ 
3.ระบบเครือข่ายอัจฉริยะ (Smart Home Network) ระบบเครือข่ายนี้ถ้าเปรียบกับร่างกายของคนเราก็เหมือนกับเส้นประสาท ที่คอยนำสัญญาณประสาทที่สั่งการมากจากสมองไปยังอวัยวะเป้าหมาย เพื่อทำให้อวัยวะเป้าหมายทำงานตามที่สั่งได้ นอกจากจะนำคำสั่งจากสมองแล้ว เส้นประสาทหรือเครือข่ายอัจฉริยะเองยังต้องทำหน้าที่นำสัญญาณการตอบสนองจากอวัยวะหรืออุปกรณ์อัจฉริยะไปที่สมองหรือระบบควบคุมอีกด้วย สรุปปัจจัยสามอย่างที่จำเป็นต่อ Smart Home คือ อุปกรณ์อัจฉริยะ (Smart Device) ระบบควบคุมอัจฉริยะ (Intelligent Control System) และสุดท้ายคือระบบเครือข่ายอัจฉริยะ (Smart Home Network) รู้จักความหมายและองค์ประกอบของ Smart Home กับไปพอสังเขปแล้ว สิ่งต่อไปที่เราจะมาพูดถึงกันก็คือ ประโยชน์ที่เราหรือผู้ใช้งานจะได้รับจากการติดตั้งระบบบ้านอัจฉริยะ


ประโยชน์ของ Smart Home  เเละเหตุผลที่ชอบระบบงานนี้ ?   


           ประโยชน์อย่างแรกที่เราจะได้รับจากระบบบ้านอัจฉริยะคือ การเข้าถึงหรือการเข้าใช้งานอุปกรณ์ต่างๆในบ้านจะง่ายขึ้น เราสามารถสั่งใช้งานอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆได้จากทุกที่ ไม่ว่าจะนอกบ้าน ในบ้าน หรือที่ทำงาน โดยสามารถสั่งงานผ่านแอพพลิเคชั่นบน smartphone หรือจากคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ระบบบ้านอัจฉริยะยังมีระบบสั่งงานด้วยเสียง (voice command) ทำให้การสั่งงานเครื่องใช้ต่างๆยิ่งง่ายขึ้นไปใหญ่ เพียงแค่เราพูกว่า “เปิดไฟ” “ปิดไฟ” หรือสั่งให้เครื่องซักผ้าทำงานก็ทำได้ง่ายๆ นอกจากนี้ยังระบบสั่งงานด้วยเสียงยังมีข้อดีกับผู้สูงอายุ ทำให้ไม่ต้องเคลื่อนไหวบ่อยๆ เพียงแค่เอ่ยปาก อุปกรณ์อัจฉริยะก็จะตอบสนองในทันที นอกจากจะทำให้เราเข้าถึงอุปกรณ์อัจฉริยะได้ง่ายขึ้นแล้ว ระบบบ้านอัจฉริยะยังทำให้ชีวิตเราสะดวกสบายมากขึ้น เช่น การปรับอุณหภูมิภายในบ้านให้เป็นไปตามสภาพอากาศภายนอกโดยอัตโนมัติ เช่น อากาศภายนอกร้อนระบบก็จะเร่งการทำงานเครื่องปรับอากาศ ทำให้เราไม่รู้สึกร้อนจนเกินไป การปิดหน้าต่างเมื่อมีฝนตก ทำให้เราไม่ต้องกังวลหรือลุกเดินขึ้นไปปิดเอง การสั่งให้ล็อคประตูบ้าน หรือสั่งปลดล็อคประตูบ้านเมื่อเราเดินมาถึงหน้าบ้าน รวมถึงระบบ Media Center ที่รวบรวมคอนเทนต์ความบันเทิงต่างๆไว้ด้วยกัน ทำให้ทุกคนในบ้านสามารถสตรีมภาพยนตร์ไปดูได้ในทุกที่ในบ้าน  นอกจากจะทำให้ชีวิตเราสะดวกสบายมากขึ้นแล้ว ระบบบ้านอัจฉริยะยังทำให้การใช้ชีวิตของเรามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น จากการที่เราไม่ต้องทำอะไรหลายๆอย่างด้วยตนเองจึงมีเวลามากขึ้นในการทำงาน สามารถหารายได้ได้มากขึ้น มีประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น นอกจากนี้ระบบบ้านอัจฉริยะยังช่วยให้เราลดค่าใช้จ่าย เช่น ค่าไฟฟ้า เพราะบางระบบมีตัวควบคุมการทำงานของหลอดไฟ ทำให้สามารถเพิ่มลดความสว่างได้ตามความสว่างภายนอกบ้าน เช่น ถ้าตรวจจับได้ว่ามีแสงอาทิตย์เข้ามาในบ้าน ระบบก็จะหรี่ไฟหรือดับดวงไฟ ทำให้เราไม่ต้องเสียค่าไฟฟ้าโดยไม่จำเป็น นอกจากไฟแสงสว่างแล้ว ระบบที่ควบคุมอุณหภูมิโดยอัตโนมัติก็ช่วยให้เราประหยัดค่าไฟได้เช่นกัน




Internet of Things  (loT)

               Internet of Things  (loT) หรืออินเตอร์เน็ตในทุกสิ่ง หมายถึง การที่สิ่งต่างๆ ถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน ในโลกของอินเทอร์เน็ต ทำให้มนุษย์สามารถสั่งการและควบคุมการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ ผ่านทางเครือข่าย อินเตอร์เน็ตได้เช่น การสั่งเปิด-ปิด อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า โทรศัพท์มือถือ เครื่องใช้สำนักงาน เครื่องมือทาง การเกษตร เครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรม บ้านเรือน รวมไปถึงเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันต่างๆ ผ่าน เครือข่ายอินเทอร์เน็ต
              เทคโนโลยีInternet of Things มีความจำเป็นที่จะต้องทำงานร่วมกับอุปกรณ์ประเภท RFID (Radio frequency identification) และ Sensors ซึ่งเปรียบเสมือนการเติมสมองให้กับอุปกรณ์ต่างๆ พร้อมทั้งต้องมี การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเพื่อให้อุปกรณ์เหล่านี้สามารถรับส่งข้อมูลได้อย่างไรก็ตามแม้ Internet of Things จะเป็นเทคโนโลยีที่มีประโยชน์ในหลายด้านแต่ก็มาพร้อมกับความเสี่ยง เพราะหากระบบรักษาความปลอดภัย ของอุปกรณ์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไม่ดีพอ ก็อาจทำให้มีผู้ไม่ประสงค์ดีเข้ามาทำสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ ต่ออุปกรณ์ข้อมูลสารสนเทศหรือความเป็นส่วนตัวของบุคคลได้ ดังนั้น การพัฒนาไปสู่ Internet of Things จึงมีความจำเป็นต้องพัฒนามาตรการและเทคนิคในการรักษาความปลอดภัยไอทีควบคู่กันไปด้วย เทคโนโลยี Internet of Things ที่มีความนิยมนำไปใช้กันอย่างทั่วโลกที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้คือ

       สรุปประโยชน์ของ Internet of Thing ในหลายๆด้าน ?
              หากทุกสิ่งถูกเชื่อมต่อกันด้วยอินเทอร์เน็ต จะก่อให้ประโยชน์มากมายที่จะส่งผลดีต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในแง่ของความสะดวกสบาย และรวดเร็ว เนื่องจากอุปกรณ์เทคโนโลยีทุกชิ้น สามารถติดต่อสื่อสารกันเอง เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ได้มากที่สุด ซึ่ง Internet of Thing นั้นมีประโยชน์ต่อการใช้งานในด้านต่างๆ มากมาย เช่น
          ด้านการแพทย์ : ปัจจุบันวิทยาการทางการแพทย์ ได้มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาร่วมด้วยมากขึ้น เช่น กล้องขนาดเล็กที่ส่งเข้าไปภายในร่างกายของคนไข้ ทำให้สามารถเห็นอวัยวะภายในได้โดยไม่ต้องทำการผ่าตัด ซึ่งช่วยลดความเจ็บปวด และเวลาในการรักษาให้สั้นลง ซึ่งถ้าหากมีการนำ Internet of Thing เข้ามามีส่วนร่วมด้วย จะช่วยในด้านความสะดวกรวดเร็วในการติดต่อระหว่างแพทย์และคนไข้ได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้นเช่น การฝังชิปไว้ในร่างกายผู้ป่วย ที่สามารถติดต่อแพทย์ให้อัตโนมัติเมื่อมีเหตุการณ์ผิดปกติ
        ด้านการโฆษณา : การทำโฆษณาบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้น นอกจากจะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้หลากหลายขึ้นแล้ว ยังช่วยประหยัดต้นทุนในการเช่าพื้นที่โฆษณาได้อีกด้วย แต่การที่จะดูโฆษณาบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้นั้นหมายความว่า จะต้องอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์มือถือ แต่ถ้าหากนำแนวคิด Internet of Thing เข้ามาเสริมนั้น ระหว่างที่เดินผ่านหน้าร้านสินค้า ก็จะมีโฆษณาแสดงขึ้นมาโดยอัตโนมัติ ตัวอย่างเช่น หากมีผู้คนเดินผ่านหน้าร้านสินค้าของเรา (ซึ่งถูกตรวจจับได้โดยระบบเซ็นเซอร์) ก็จะปรากฏภาพโฆษณาขึ้นให้ผู้คนที่เดินผ่านไปมาได้เห็นทันที ซึ่งจะส่งผลให้สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้หลากหลายยิ่งขึ้น
       ด้านการลดต้นทุน : เช่นการ ลดต้นทุนให้กับการไฟฟ้า การที่ต้องมีพนักงานมาคอยตรวจเช็ค และจดมิเตอร์ไฟฟ้าในทุกเดือน ถือเป็นต้นทุนอย่างหนึ่งที่การไฟฟ้าต้องจ่ายเพื่อจ้างพนักงานให้คอยทำหน้าที่นี้ หากมีการนำแนวคิด Internet of Thing มาใช้จะส่งผลให้สามารถตัดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ไปได้ เนื่องจากมิเตอร์จะทำการส่งข้อมูลไปยังระบบที่คอยบันทึกข้อมูลการใช้ไฟของการไฟฟ้าเอง โดยไม่ต้องใช้คนจด อีกทั้งยังช่วยลดการใช้ไฟฟ้าได้อีกด้วย จากการที่สามารถบอกอัตราการใช้ไฟของเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิด